ในการทำงานร่วมกันหลายคน รูปแบบการสื่อสารเป็นปัจจัยที่สำคัญที่จะทำให้การ ประสานงานและการทำงานร่วมกัน ยิ่งในยุคของการทำงาน remote ที่เริ่มชัดเจนมากขึ้นใน ช่วงโรคระบาด ยิ่งทำให้ปัญหาของการสื่อสารที่ไม่ดีถูกทำให้เห็นชัด และเกิดปัญหาที่ กระทบต่อประสิทธิภาพของงาน บทความนี้จะถอดบทเรียนจากประสบการณ์ของผู้เขียนเป็นตัว อย่างให้สามารถนำไปประยุกต์ใช้หรือปรับปรุงวิธีการสื่อสารของตนเองภายในทีมที่ทำงาน ร่วมกันอยู่

ระบุเจตนาของการสื่อสารให้ชัดเจน

ไม่ว่าเราต้องการให้ผู้รับสารทำอะไร การระบุอย่างชัดเจนถึงสิ่งที่เราคาดหวังให้ผู้ รับสารทำ เป็นเรื่องสำคัญที่จะทำให้ผู้รับสารสามารถวางแผนการทำงานของตนเองได้

เลือกใช้คำที่ไม่หยาบคาย

การเลือกใช้คำ ไม่ว่าจะเป็นการพูดหรือการเขียน มีผลต่ออารมณ์ของผู้รับสารเสมอ ทิป เล็กๆของวิธีนี้ คือ ขอให้นึกเสมอว่าถ้าเราต้องพูดแบบเดียวกันบนเวที หรือในที่ สาธารณะที่มีคนอื่นได้ยิน เราจะกล้าพูดหรือไม่ ก่อนที่จะพูดออกไปหรือพิมพ์คำพูดลงไป โดยคำที่เราเลือก ไม่จำเป็นต้องมีความเป็นทางการหรือสุภาพขอเพียงแค่ไม่หยาบคาย

ไม่ใช้คำที่เป็น subjective ในการวิจารณ์ผลงานของคนอื่นในด้านลบ

เช่น คำว่า แย่ ห่วย กระจอก หากต้องตำหนิผลงานของเพื่อนร่วมทีม ควรเลือกใช้คำที่ เป็น constructive หรือเจาะจงไปที่ปัญหาโดยตรง ยิ่งหากสามารถแนะนำทางแก้ได้ ก็ยิ่ง ควรทำ แต่ถ้าหากว่าเราไม่รู้ปัญหาว่าเกิดจากอะไร ไม่สามารถพูดปัญหาแบบ constructive ได้ อย่างน้อยที่สุดก็ควรวิจารณ์และแนะนำแบบ objective อย่างตรงไปตรงมา ไม่เพิ่มความ subjective เข้าไป

subjective: “โปรแกรมมันช้า เพราะคุณเขียนโปรแกรมกระจอกๆแบบนี้ไง”

objective: “โปรแกรมมันช้า ผมก็ไม่รู้เหมือนกันว่าเพราะอะไร แต่คุณลองหาทางแก้ดูนะ”

constructive: “โปรแกรมมันช้า เพราะคุณเขียนส่วนที่ต่อ Database โดยการสร้าง connection ใหม่ทุกครั้ง ลองแก้เป็นให้ใช้ connection เดียวกันโดยไม่ต้องสร้างใหม่ครับ”

แล้วถ้าวิจารณ์ด้านบวกล่ะ ?

ชมไปเถอะครับ subjective ให้เต็มที่ไปเลย อย่าให้ถึงขั้นประชดก็พอ กำลังใจในการ ทำงานมีความสำคัญต่อคนทำงาน และยังช่วยให้การทำงานร่วมกันในทีมดีขึ้น

หากเกิดข้อผิดพลาด ข้อสงสัย หรืออะไรที่มีผลกับการทำงาน ควรติดต่อขอความช่วยเหลือทันที

ในหลายๆครั้ง เพื่อนร่วมทีมอาจจะมีความ “เกรงใจ” ไม่อยากรบกวนการทำงานของคนอื่น ทำให้ไม่กล้าที่จะติดต่อทันที หรืออาจจะคิดว่าควรพยายามทำด้วยตัวเองก่อน ซึ่งวิธี คิดแบบนี้นอกจากจะทำให้ประสิทธิภาพงานของตัวเองน้อยลงแล้ว ยังอาจทำให้ประสิทธิภาพ ของทีมลดลงอย่างมากเพราะขาดความต่อเนื่อง

โดยหากคิดว่าการขอความช่วยเหลือจะรบกวนการทำงานของคนอื่น อย่างน้อยก็สามารถใช้วิธี ส่งข้อความที่ผู้รับไม่ต้องตอบกลับทันทีไปก่อนได้ เช่น การส่งอีเมล หรือ ข้อความแชท

ไม่กลัวที่จะรายงานความผิดพลาดของตัวเอง

ความจริงแล้วเรื่องนี้เป็นเรื่องเดียวกับข้อข้างบน แต่การจะสร้างสภาพแวดล้อมการ ทำงานที่เอื้อให้คนในทีมกล้าที่จะรายงานความผิดพลาด อยู่ที่การกระทำของกลุ่มผู้นำ องค์กร ไม่ได้อยู่ที่คนส่วนใหญ่ในองค์กร แต่ทุกคนเก็บข้อคิดนี้เอาไว้ว่าหากเราได้ เป็นผู้นำ ไม่ว่าจะเป็นในระดับที่มีผู้ตามไม่ถึงสิบคนหรือหลายร้อยคน สภาพแวดล้อม ที่คนไม่กล้ารายงานความผิดพลาดของตนเองจะมีผลเสียมากกว่าผลดีเสมอ